qr code-M ร้านทรัพย์มณีสุข

ประวัติศาลพระภูมิ ตำนานความเป็นมา

ประวัติศาลพระภูมิโดยสังเขป 

ประวัติศาลพระภูมิ บางท่านอาจจะเคยได้ยินมาแล้ว บางท่านอาจจะได้ยินมาอย่างผิดๆ โพสนี้จะเป็นเรื่องราวอย่างย่อเพื่อให้ท่านได้เข้าใจถึงประวัติศาลพระภูมิอย่างถูกต้อง

   พระชัยมงคลหรือพระภูมิในศาลพระภูมินั้น บางตำนานมีความเชื่อผิดๆ ว่า พระภูมินั้นเป็นพระ เมื่อบวชเรียนมาเป็นเวลานานหลายพรรษาจนมรณะภาพ แล้วจึงกลายมาเป็นพระภูมิ ทำให้บางท่านมีความเชื่อว่า ถ้าให้พระเกจิอาจารย์ ที่ตนนับถือมาเป็นผู้ตั้งศาล จะมีความเป็นสิริมงคลเป็นอย่างมาก

   ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อที่ผิด พระกับพระภูมินั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลย และตามศาสตร์จริงๆนั้น พระไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเป็นเจ้าพิธีในการอัญเชิญพระภูมิ เจ้าที่ มาสถิตย์ในศาลของเรา เพราะไม่ใช่กิจของสงฆ์

ท่านสามารถอ่าน พิธีการตั้งศาลพระภูมิที่ถูกต้อง <<<—— ได้ที่นี่

สารบัญ

พระที่อยู่ในศาลพระภูมิ
พระภูมิคือใคร

พระภูมิคือใคร เรื่องราวโดยสังเขป

   ตำนาน หรือประวัติศาลพระภูมิ มีหลายตำราแต่จะมีความคล้ายคลึงกัน คือ พระภูมิเป็นโอรสองค์โตในทั้งหมด 9 พระองค์ของท้าวทศราช มีพระนามที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือ “พระชัยมงคล”

   พระชัยมงคลเป็นเทพที่ดูแล บ้านเรือนและร้านค้าต่างๆ และพระโอรสอีก 8 พระองค์ก็จะดูและในส่วนอื่นๆ

   เราจะคุ้นเคยกับพระภูมิมากที่สุดเพราะ เป็นเทพที่ดูแลบ้านเรือนและร้านค้า รายชื่อของพระโอรสในท้าวทศราชมีดังนี้

ประวัติศาลพระภูมิ

พระนามของพระโอรสทั้ง 9 และหน้าที่การคุ้มครอง

  1. พระชัยมงคล ทรงปกครองดูแลบ้านเรือน ร้านค้าต่างๆ คนไทยจะคุ้นเคยกับองค์นี้ที่สุด
  2. พระนครราช หน้าที่จะเกี่ยวกับการป้องกันเมืองคือ ปกปักรักษา ป้อมค่ายต่างๆ ประตูเมือง หอรบ บันไดต่างๆ
  3. พระเทเพล จะเกี่ยวข้องกับอาชีพที่เกี่ยวกับปสุสัตว์ ท่านจะดูแล ฟาร์มต่างๆ ไร่ และคอกสัตว์
  4. พระชัยสพ ดูแลปกป้องรักษา เสบียงคลัง ยุ้งฉาง
  5. พระคนธรรพ์ เชื่อว่าเป็นผู้ปกป้องสถานบันเทิงรื่นเริงต่างๆ โรงพิธีวิวาห์ สถานที่แต่งงาน
  6. พระธรรมโหรา มีหน้าที่ปกป้องดูแลโรงนา สวนต่างๆ
  7. พระวัยทัต ท่านมีหน้าที่ปกปักปูชนียสถาน วัดวาอารามต่างๆ
  8. พระธรรมิกราช ทรงปกครองรักษาดูแลกิจการต่างๆที่เกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งหมด
  9. พระทาษธารา มีหน้าที่ปกครองดูแลห้วย หนอง คลอง บึง ลำธารทุกแห่ง
ความเชื่อเรื่องการตั้งศาลพระภูมิ
ตั้งศาลพระภูมิดีไหม

   เรื่องราวเริ่มต้นของประวัติศาลพระภูมินั้นคือ แรกเริ่มท้าวทศราชเป็นกษัตริย์เจ้าเมืองพาลี ทรงเป็นกษัตริย์ที่ไม่อยู่ในทศพิศราชธรรม กดขี่ข่มเหงประชาชน ประชาชนได้รับความทุกยากไปทุกหย่อมหญ้า

   ทั้งนี้ ท้าวทศราชยังสั่งสอนพระโอรศให้กระทำตัวหยาบช้าเช่นตนเอง ทั้งรีดไถ ข่มขู่ให้หาเครื่องสิ่งของเครื่องบรรณาการต่างๆมาให้แก่พวกตนเอง

   ชาวบ้านต่างเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก ที่ต้องคอยหาแก้วแหวนเงินทองมาถวายแก่ท้าวทศราชและพระโอรส ซึ่งชาวบ้านก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากก้มหน้ารับชะตากรรม

การตั้งศาลพระภูมิซ้ายขวา

   จนกระทั่งเรื่องนี้ร้อนไปถึงพระนารายณ์ที่ประทับอยู่ในพระตำหนักบนสรวงสวรรค์ชั้นไวกูณฐ์ พระนารายณ์ทรงได้รับเรื่องร้องทุกจากเทพบริวารของท่าน ท่านซึ่งเป็นผู้มีเมตตาเมื่อเห็นราษฎรของกรุงพาลีทุกยาก ก็ทรงอยากจะช่วยให้พ้นทุกจากเหตุการณ์นี้เสีย ครั้นจะใช้อำนาจอันยิ่งใหญ่ลงทันพ่อลูกแห่งกรุงพาลีก็อาจจะง่ายเกินไป ท้าวทศราชและพระโอรสอาจจะไม่สำนึก

   ท่านจึงทรงคิดอุบายขึ้นเพื่อเป็นการสั่งสอน ท้าวทศราชและพระโอรส ขึ้นโดยแปลงกายเป็นพราหมณ์ที่น่านับถือ แล้วทรงเสด็จมาที่กรุงพาลี

   เมื่อท้าวทศราชเห็นพระนารายณ์ที่จำแลงกายลงมาเห็นว่าเป็นพราหมณ์ก็ต้อนรับขับสู้ เป็นอย่างดี เมื่อมีการสนทนาไปสักครู่หนึ่ง พราหมณ์ที่เป็นร่างจำแรงของพระนารายณ์ก็เอ่ยปากขอที่ดินสักผืนหนึ่ง ท้าวทศราชก็ถามกลับไปว่า ท่านต้องการสักเท่าไหร่หรือ 

พระนารายในร่างของพราหมณ์ก็กล่าวตอบไปว่า ต้องการเพียง 3 ก้าวเท่านั้น

ท้าวทศราชได้ยินดังนั้นก็ทรงพระสรวลแล้วตอบตกลงทันที

   ร่างจำแลงของพระนารายณ์เมื่อได้ยินเช่นนั้นจึงขอให้ท้าวทศราชหลังน้ำอุทกธาราเพื่อเป็นการยืนยันรับสัญญาดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

พิธีหลั่งน้ำอุทกธารา

   ท้าวทศราชจึงสั่งให้มหาดเล็กไปนำข้าวของเครื่องใช้รวมไปถึงพระเต้าเพื่อนำมาใช้ในพิธีหลั่งน้ำอุทกธาราในทันที

  ในระหว่างทำพิธีจนถึงขั้นตอนที่ท้าวทศราชต้องเทพระเต้าให้น้ำออกมา ปรากฎว่าเทเท่าไหร่น้ำก็ไม่ออก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ พระศุกร์ผู้ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท้าวทศราชทราบว่า พราหมณ์ผู้นี้คือพระนารายณ์จำแลงมาเพื่อสั่งสอนท้าวทศราชและพระโอรส จึงทำการขัดขวางโดยแปรงร่างแล้วแอบเข้าไปในพระเต้าแล้วเอาตัวขวางไว้เพื่อไม่ให้น้ำออกมาจากพระเต้าได้ 

   เมื่อพระนารายณ์เห็นว่าเทเท่าไหร่น้ำก็ไม่ออกจึงกระแสจิตเพ่งดูว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จึงทราบว่าพระศุกร์ได้มาขัดขวางไว้ท่านจึงนำหญ้าคาแหย่เข้าไปในพระเต้า เผอิญว่าหญ้าคานั้นไปบาดเอาที่ตาของพระศุกร์ พระศุกร์จึงหนีไป จากนั้นน้ำก็ไหลออกมาได้โดยสะดวก พิธีก็ดำเนินจนเสร็จสิ้นไป

   หลังจากพิธีเสร็จแล้วนั้น พราหมณ์ที่เป็นร่างแปลงของพระนารายณ์ก็สำแดงอิทธิ์ฤทธิ์กลับคืนสู่ร่างเดิม

พระองค์ทรงยืนด้วยร่างอันใหญ่โต ซึ่งร่างนี้สูงใหญ่กว่าปราสาทของท้าวทศราชเสียอีก จากนั้นพระนารายณ์ก็เดินเพียง 3 ก้าวก็ได้ระยะมากกว่าอาณาเขตของเมืองพาลีทั้งเมือง

   เมื่อเห็นดังนั้น ท้าวทศราช พระมเหสี และพระโอรสทั้ง 9 ก็ตกตะลึงพร้อมกับก้มกราบขอขมาพระนารายณ์เพราะรู้ดีว่าต้องเสียเมืองให้พระนารายณ์

บทลงโทษของท้าวทศราช และพระโอรส

   พระนารายณ์ต้องการสั่งสอน ท้าวทศราช และพระโอรสจึงไม่ยอมผ่อนปรนให้ ทำให้ท้าวทศราช พระมเหสี และพระโอรสทั้งหมด ต้องออกจากเมือง ด้วยที่เป็นวรรณะกษัติร์ไม่เคยลำบาก ท้าวทศราช และพระโอรสจึงมีชีวิตอย่างยากลำบากแบบที่ไม่เคยพบมาก่อน ด้วยเขตที่ท้าวทศราชและพระโอรส ออกไปนั้นเป็นเขตนอกป่าหิมพานที่แห้งแร้ง ทุรกันดาร หาผลไม้หรือน้ำก็ยากทำให้ต้องพบความลำบากอย่างแสนสาหัส ทั้งหมดจึงสำนึกได้แล้ว พากันไปเข้าเฝ้าขอประทานอภัยจากพระนารายณ์ด้วยความจริงใจและสัญญาว่าจะตั้งตนอยู่ในความดี

การตั้งศาลพระภูมิเพื่อ

   เมื่อพระนารายณ์เห็นเช่นนั้นก็ให้อภัยและให้ทั้งหมดกลับไปที่กรุงพลาลี แต่ไม่ใช่ในฐานะกษัตริย์ ให้อยู่ในฐานะผู้ปกปักรักษาดูและสถานที่ต่างๆโดยให้ทุกพระองค์ประทับอยู่บนศาลพระภูมิที่มีเสาเดียวปักอยู่บนพื้น

ซึ่งท้าวทศราชและพระโอรสก็น้อมรับอย่างโดยดี

สรุป

   หน้าที่ของท้าวทศราชและพระโอรสที่ได้มอบหมายจากพระนารายณ์นั้นแตกต่างกันไปสามารถดูได้ในหัวข้อ
พระนามของพระโอรสทั้ง 9 และหน้าที่การคุ้มครอง ด้านบน
   ซึ่งคนไทยจะคุ้นเคยกับพระชัยมงคลผู้ซึ่งเป็นผุ้ปกป้องดูแล บ้านเรือน ร้านค้า
ส่วนท้าวทศราชนั้นเป็นผู้ปกครอง พระภูมิทั้ง 9 อีกทีซึ่งก็จะเปรียบเหมือนว่า ท้าวทศราชได้แบ่งตนออกไปเป็น 9 องค์ และที่กล่าวมาคือประวัติศาลพระภูมิแบบย่อ หวังว่าท่านจะทราบและเข้าใจความเป็นมาของศาลพระภูมิขึ้นไม่มากก็น้อย
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr